งานเกษตรอีสานใต้

งานเกษตรอีสานใต้

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมพื้นคอกหมูหลุม


http://www.youtube.com/watch?v=NcFp2_IB0Eg



การทำำำนำ้ำหมัก






จุลินทรีย์จากผลไม้ (ลดปัญหากลิ่นอุจจาระหมู)
วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้สุก 1 กก.
2. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
3. กระดาษขาว
4. เชือกฟาง
วิธีการทำ
1. นำผลไม้ที่เตรียมไว้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำใส่ในโหล
2. เทน้ำตาลทรายแดงลงไปในโหล ให้เหลือน้ำตาล
ทรายแดงเล็กน้อยเพื่อนำไปโรยปิดทับ
3. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. นำน้ำตาลทรายแดงที่เหลือโรยปิดทับอีกครั้งหนึ่ง
5. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน

โยเกิร์ตหมูหลุม
(ช่วยให้หมูมีระบบย่อยอาหารดีขึ้นเมื่อหมูมีอาการป่วย)
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำซาวข้าว (หรือน้ำข้าวหม่า)
2. น้ำตาลทรายแดงครึ่งกิโลกรัม
3. โหลสำหรับใส่เหล้าดองยา
4. กระดาษขาว
5. เชือกฟาง
6. นมสดพลาสเจอร์ไรซ์ (นมวัว) 10 แก้ว
7. รำอ่อน
วิธีการทำ
1. นำน้ำซาวข้าวใส่ขวดโหลเว้นช่องว่างประมาณ
10 ซม. ปิดด้วยกระดาษขาวผูกเชือกทิ้งไว้ 7 วัน
2. เปิดฝานำรำอ่อนโรยด้านบนให้หนาประมาณ
1 ซม. แล้วปิดทิ้งไว้อีก 2 วัน
3. ดูดน้ำซาวข้าวที่ได้จากการหมักมา 1 แก้ว
4. เทน้ำซาวข้าวลงในโหล 1 แก้ว แล้วเทนมสด
พลาสเจอร์ไรซ์ (นมวัว) 10 แก้ว
5. เทน้ำตาลทรายแดงลงไปไม่ต้องคน
6. ปิดฝาด้วยกระดาษขาว ผูกรัดด้วยเชือกฟาง
7. หมักทิ้งไว้ 7 วัน

วิธีการใช้โยเกิร์ต 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่ม
                                         

เหล้าดองยาหมูหลุม
(ลดความเครียด กระตุ้นการกินอาหารของหมู)
วัสดุอุปกรณ์
1. สมุนไพรในท้องถิ่น 1 กก.
2. น้ำตาลทรายแดงครึ่งกิโลกรัม
3. โหลสำหรับใส่เหล้าดองยา
4. กระดาษขาว
5. เชือกฟาง
6. สุรากลั่น 2 ขวด (สุราพื้นบ้าน)
วิธีการทำ
1. นำสมุนไพรที่เตรียมไว้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่โหล
2. เทน้ำตาลทรายแดงลงไปในโหล
3. เทสุรากลั่น 2 ขวด (สุราพื้นบ้าน) ลงไปในโหล
4. ปิดด้วยกระดาษขาว ผูกเชือกให้แน่น
5. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน
วิธีการใช้
1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่มอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

อาหารหมักหมูหลุม
วัสดุอุปกรณ์
1. ผัก ผลไม้ต่างๆ ในท้องถิ่น 100 กก.
2. น้ำตาลทรายแดง 4 กก.
3. โอ่งมังกร 1 ใบ
4. กระดาษขาวหรือผ้ายางปิด
5. เชือกฟาง
6. เกลือ 1 กก.
วิธีการทำ
1. นำผัก ผลไม้ที่เตรียมไว้หั่นชิ้นเล็กๆ 100 กก.
2. เทน้ำตาลทรายแดง 4 กก. ลงในกองผักผลไม้
ที่หั่นไว้แล้ว
3. เทเกลือ 1 กก. ลงในกองผักผลไม้ที่หั่นไว้แล้ว
4. ผสมคลุมเคล้าให้เข้ากัน
5. ตักอาหารที่ผสมลงในโอ่ง
(ให้เหลือช่องว่างอากาศไว้ 1 ส่วน)
6. ปิดด้วยกระดาษขาว ผูกเชือกให้แน่น
7. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
วิธีการใช้
เริ่มให้อาหารหมัก เมื่อเริ่มเลี้ยงเดือนที่ 2 ตักอาหาร
หมัก 5 ถัง ผสมรำอ่อน 2 ถ้วย และอาหารสำเร็จรูป 2 ถ้วย
ให้หมูกินต่อ  1 มื้อ













การจัดการสุกร

 การจัดการเลี้ยงดู การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
 การให้อาหาร ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) หลังจากนั้นให้ใช้ต้นกล้วย การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 100 กก. 







ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.) ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวันหมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.) ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน แม่หมูอุ้มท้อง ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน

การเลือกสุกรสำหรับเลี้ยง

พันธุ์สุกร ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เลี้ยงแม่พันธุ์เอง และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม




                                 สุกรพันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่

วิธีการสร้างเตรียมคอกเลี้ยงหมูหลุม


             การเลือกสถานที่สร้างควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมระบายน้ำได้ดี และอยู่ห่างไกลชุมชน ควรสร้างคอกให้แสงแดดสามารถส่องถึงได้บ้าง โดยเฉพาะแสงยามเช้าและเย็น จะช่วยให้หมูมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากได้รับวิตามินดีจากแสงแดด อีกทั้งแสงแดดยังช่วยยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์และเชื้อโรคบางชนิดได้ แต่โรงเรือนควรป้องกันฝนสาดได้ และไม่ควรให้แสงแดดส่องมากเกินไป
วัสดุมุงหลังคาขึ้นอยู่กับงบประมาณ เช่น กระเบื้อง สังกะสี หญ้าแฝก หญ้าคาหรือจากคอกหมูควรสร้างเป็นสองแถวมีทางเดินตรงกลาง ขนาดของคอก 4×3.5เมตร ใช้เลี้ยงหมูขุน 8-10 ตัว หมู 1 ตัวใช้พื้นที่ 1.2 ตร.ม. ถ้าทำหลังคาจั่ว 2 ชั้นควรสูง 8 ม.


ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม 




ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซ.ม. ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 ซ.ม. เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน รำละเอียด 1 ส่วน


 ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม 



แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอกโรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือจากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง

ข้อดีข้อจำกัดและปัญหาผลกระทบของการเลี้ยงหมูหลุม

1.ข้อดีการเลี้ยงหมูหลุม
            1) เป็นการเลี้ยงที่ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตรมาเป็นอาหารโดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่นสามารถหาได้ตามสภาพพื้นที่ มีราคาถูก
            2) เป็นการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
            3) เป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางหนึ่งและมีการใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรียวัตถุทำให้ดินมีสภาพร่วนซุยลดกลิ่นเหม็นภายในฟาร์มไม่ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านและชุมชน
            4) มูลและพื้นรองนอนในหลุมสามารถนำไปเป็นปุ๋ยและขายได้
            5) ปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากการเลี้ยงที่ใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้นและน้ำหมักยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกและเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย
            6) การใช้จุลินทรีย์หมักอาหารอาจช่วยให้ระบบการย่อยอาหารในร่างกายดีขึ้น
2.ข้อจำกัดการเลี้ยงหมูหลุม
            1)การใช้อาหารที่ผสมเองตามธรรมชาติร่วมกับรำและปลายข้าวทำให้หมูโตช้า ใช้เวลาเลี้ยงที่ยาวนานขึ้นกว่าการใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากโภชนะมีโปรตีนและพลังงานไม่พอเพียงกับความต้องการ
            2)ผู้เลี้ยงจะต้องเสียเวลาในการจัดเตรียมอาหารหมักชนิดต่างๆ และมีพื้นที่ในการปลูกวัตถุดิบ เช่น ต้นกล้วย
            3)ผู้เลี้ยงต้องมีความพยายามและอดทน
            4)ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ชุดละมากๆ

3.ปัญหาและผลกระทบจากการเลี้ยงหมูหลุม

            1)หากการเลี้ยงขาดการจัดการที่ดี ขาดหลักการป้องกันโรค ควบคุมการเข้าออกฟาร์ม อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคระบาดได้
            2)ฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี เช่นจุลินทรีย์ไม่เพียงพอต่อการย่อยสลาย มีการหมักหมมของมูลจำนวนมาก อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ได้
            3)หากมีการส่งเสริมสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก อาจมีผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นวัสดุรองพื้นและใช้เป็นอาหาร เช่น แกลบ และต้นกล้วย เป็นต้น เกษตรกรหลายรายเลิกเลี้ยงบนหลุมเพราะหาแกลบและวัสดุที่ใส่ในหลุมได้ยาก ใช้แต่น้ำหมักชีวภาพ