1) เป็นการเลี้ยงที่ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตรมาเป็นอาหารโดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่นสามารถหาได้ตามสภาพพื้นที่ มีราคาถูก
2) เป็นการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
3) เป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางหนึ่งและมีการใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรียวัตถุทำให้ดินมีสภาพร่วนซุยลดกลิ่นเหม็นภายในฟาร์มไม่ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านและชุมชน
4) มูลและพื้นรองนอนในหลุมสามารถนำไปเป็นปุ๋ยและขายได้
5) ปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากการเลี้ยงที่ใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้นและน้ำหมักยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกและเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย
6) การใช้จุลินทรีย์หมักอาหารอาจช่วยให้ระบบการย่อยอาหารในร่างกายดีขึ้น
2.ข้อจำกัดการเลี้ยงหมูหลุม
1)การใช้อาหารที่ผสมเองตามธรรมชาติร่วมกับรำและปลายข้าวทำให้หมูโตช้า ใช้เวลาเลี้ยงที่ยาวนานขึ้นกว่าการใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากโภชนะมีโปรตีนและพลังงานไม่พอเพียงกับความต้องการ
2)ผู้เลี้ยงจะต้องเสียเวลาในการจัดเตรียมอาหารหมักชนิดต่างๆ และมีพื้นที่ในการปลูกวัตถุดิบ เช่น ต้นกล้วย
3)ผู้เลี้ยงต้องมีความพยายามและอดทน
4)ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ชุดละมากๆ
3.ปัญหาและผลกระทบจากการเลี้ยงหมูหลุม
3.ปัญหาและผลกระทบจากการเลี้ยงหมูหลุม
1)หากการเลี้ยงขาดการจัดการที่ดี ขาดหลักการป้องกันโรค ควบคุมการเข้าออกฟาร์ม อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคระบาดได้
2)ฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี เช่นจุลินทรีย์ไม่เพียงพอต่อการย่อยสลาย มีการหมักหมมของมูลจำนวนมาก อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ได้
3)หากมีการส่งเสริมสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก อาจมีผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นวัสดุรองพื้นและใช้เป็นอาหาร เช่น แกลบ และต้นกล้วย เป็นต้น เกษตรกรหลายรายเลิกเลี้ยงบนหลุมเพราะหาแกลบและวัสดุที่ใส่ในหลุมได้ยาก ใช้แต่น้ำหมักชีวภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น